The Eavesdropperings: From Dickinson’s Fans, with Love.

| | ,

หากคุณกำลังมองหาซีรีส์ดีๆ ที่อิงมาจากเรื่องราวของบุคคลที่มีตัวตนจริงๆ และเล่าเรื่องราวออกมาโดยเทียบเคียงกับสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบัน ก็ไม่ควรพลาดซีรีส์ Dickinson ซีรีส์จาก Apple TV+ ที่คุณจะได้รับทุกความบันเทิงไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจ เพลงประกอบสุดฮิต และบทกลอนที่ชวนให้คุณหลงใหลไปพร้อมๆ กัน ซึ่งซีรีส์เรื่องนี้ก็ฉายจบไปเรียบร้อยแล้ว มีทั้งหมด 3 ซีซั่น ซีซั่นละ 10 ตอน ตอนละ 30 นาทีเท่านั้น อาจจะเรียกได้ว่าซีซั่นละ 5 ชั่วโมง ดูทั้งหมดก็ 15 ชั่วโมง นั่งดูวันหยุดรวดเดียวก็จบ รู้แบบนี้รีบดูกันเลย!

แต่เดี๋ยวก่อน วันนี้ The Eavesdropperings ก็จะชวนแขกรับเชิญสุดพิเศษอีก 3 ท่าน มาร่วมวงสนทนาพูดคุยเกี่ยวกับความรักและความรู้สึกของซีรีส์เรื่องนี้นั่นเอง แน่นอนว่าใครที่เคยได้รับชม ‘โลกของเอมิลี่ ดิกคินสัน’ หรือ ‘Dickinson’ เมื่อได้ฟังพอดแคสต์ตอนนี้ คุณก็จะรู้สึกคิดถึงและหลงรักอีกครั้งอย่างแน่นอน เพราะว่าพวกเราชวนทุกคนมานั่งคุยกันตั้งแต่ซีซั่นแรกจนถึงซีซั่นสาม พูดคุยเกี่ยวกับมุมมองต่างๆ ที่น่าสนใจของซีรีส์เรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นในด้านของงานเขียน ปิตาธิปไตย เฟมินิสต์ ความเควียร์ ไปจนถึงมุมมองของคนชายขอบ ที่ซีรีส์พยายามที่จะบอกเล่าและต้องการที่จะสื่อสารออกมาให้ผู้ชมได้รับรู้

[WATCH EP.05] From Dickinson's Fan with love | #TheEavesdropperings

ก็ขอยกตัวอย่างเรื่องราวที่น่าสนใจในพอดแคสต์นี้มาให้ทุกคนได้อ่านกันสักหน่อย

คุณปอย: เราชอบที่เขาเอากลอนแต่ละกลอนเอามาวางจิ้มไว้เลยว่า กลอนบทนี้จะใช้ในตอนนี้ และในทุกๆ ตอน ชื่อตอนก็จะเป็นชื่อกลอนเนอะ นอกจากความเก่งกาจของทีมงานที่เอากลอนของเอมิลี่มาตีความและเอามาสร้างเป็นซีรีส์ในแต่ละตอนได้นั้น เขายังทำให้คนดูได้รู้จักกับตัวตนของเอมิลี่ได้มากยิ่งขึ้นผ่านกลอนแต่ละบท คือเรารู้สึกว่าถ้าพูดถึงเอมิลี่ ดิกคินสัน คนส่วนมากที่เคยได้ยินชื่อผ่านๆ ก็คงจะคุ้นกับ ‘“Hope” is the thing with feathers.’ หรือ ‘Wild Nights – Wild Nights!’ ซึ่งมันก็จะเด่นๆ อยู่สองสามผลงาน แต่ว่าซีรีส์เรื่องนี้ทำให้เห็นถึงงานเขียนด้านอื่นๆ ของเอมิลี่มากยิ่งขึ้นว่ามันไม่ได้มีแค่เกี่ยวกับความหวัง หรือแค่การโล้สำเภาเท่านั้น แต่ยังทำให้เราเห็นว่า เอมิลี่ยังสามารถเขียนกลอนที่พูดถึงผลงานหรือการปลอบประโลมผู้คนจากสงครามได้ด้วยซ้ำ นอกจากเขาจะอุทิศให้กับตัวของเอมิลี่ ดิกคินสัน แล้ว ก็ยังทำให้คนเห็นคุณค่าถึงงานเขียนของเอมิลี่ได้มากขึ้นอีกด้วย

คุณคม: เวลาที่เราเห็นซีรีส์ดีๆ แบบนี้ไม่เข้าชิงอะไรใดๆ เราจะพยายามนึกถึง split the lark เพราะว่ามันพูดถึงเรื่องชื่อเสียงและคุณค่าของผลงานได้ดี คือเราไม่จำเป็นต้องมีชื่อเสียงโด่งดัง เพื่อให้งานของเรามีคุณค่า สิ่งที่เราทำมันมีคุณค่าอยู่ในตัว

คุณเฟิร์ส: คือขออวยหน่อย คนที่ได้ดู Dickinson ซับไทยก็จะเห็นว่าเขาแปลดีมาก ทั้งบทพูด บทกวี มันดีมากจริงๆ แล้วเราก็ไปเสิร์ชมาก็คือคุณต้องตา สุธรรมรังษี เขามีผลงานแปลหนังสือเรื่อง ‘วัยเยาว์อันสิ้นสูญ’, ‘เนินนางวีนัส’, ‘เดอะวิชเชอร์’ แล้วเขาแปลหนังสือ ‘มุ่งสู่ประภาคาร’ ของเวอร์จิเนีย วูลฟ์ เวอร์ชั่นสำนักพิมพ์ไลท์เฮาส์ด้วย ฯลฯ
คุณคม: คือที่เราสามารถอินกับซีรีส์ได้ขนาดนี้เพราะว่ามีซับที่ดีที่แปลให้ครบความให้เราเข้าใจได้
คุณเฟิร์ส: เขาแปลสวยมาก แล้วก็เก็บรายละเอียดครบด้วย
คุณคม: มันไม่ได้เข้าใจยากด้วยนะ
คุณตอง: แค่แปลภาษาพูดให้สวยมันก็ยากแล้ว แต่เขาแปลกลอนให้สวยได้อีก แล้วก็มีการสัมผัสด้วย
คุณคม: แล้วถ้าเกิดใครอยากดูดิกคินสันแต่ไม่มีแพลตฟอร์มก็ไม่ต้องหาดูเถื่อนเลย เราก็หาวิธีดูฟรีพร้อมซับดีๆ ให้คุณได้แล้ว
คุณเฟิร์ส: ถ้าเกิดคุณจะดูเถื่อนแล้วซื้อเถื่อน ก็เปลี่ยนมา subscribe กับ Apple TV ดีกว่า

สามารถรับฟังพอดแคสต์ The Eavesdropperings ตอน From Dickinson’s Fans, with Love. ได้ทาง

Spotify: https://spoti.fi/3cMpkJ4

Apple Podcast: https://apple.co/3PLNVMz

YouTube: https://youtu.be/p-rNG4GWw24

READ MORE:

Previous

Gabrielle Aplin ปล่อย Call Me เวอร์ชั่นเปียโน พร้อมประกาศปล่อยอัลบั้มใหม่ที่มีชื่อว่า Phosphorescent

Amazon Prime Video เปิดตัวตีตลาดไทยอย่างเป็นทางการ

Next