หากคุณเป็นคนหนึ่งที่คุ้นเคยกับซิสเตอร์เบียทริซจาก Warrior Nun ทั้งมีโอกาสได้ดูเอง หรือเห็นจากที่คนอื่นๆ ลงรูปกันมาเรื่อยๆ แล้วสนใจ อยากทำความรู้จักกับนักแสดงผู้รับบทนี้กันสักหน่อย วันนี้เราไม่อยากให้ทุกคนพลาด เพราะว่าเราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ Kristina Tonteri-Young หรือที่แฟนๆ มักเรียกกันว่า KTY กันสักหน่อย ว่าเธอคนนี้เป็นใคร ทำไมถึงคว้าใจใครหลายๆ คนไปครองได้
Short Brief
Kristina Tonteri-Young เกิดที่ฟินแลนด์ (1998) ฝึกเป็นนักเต้นบัลเลต์ตั้งแต่ 3 ขวบ (2001) ย้ายไปนิวยอร์กตอนอายุ 6 ขวบ (2004) ย้ายไปเรียนบัลเลต์ที่ Bolshoi Ballet Academy ตอนอายุ 11 ขวบ (2009) เริ่มงานแสดงตอนอายุ 16 ปี (2014)
คริสติน่า ทอนเทริ-หยาง เข้าเรียนหลักสูตรภาคฤดูร้อน Shakespeare summer courses ที่ RADA (Royal Academy of Dramatic Art ในลอนดอน) แล้วก็เข้าคลาสเทคนิคการแสดงที่ The Acting Studio ใน New York ก่อนจะสมัครเข้าเรียนที่ Guildhall School of Music & Drama ในลอนดอน ในปี 2016
การศึกษา:
- Conservatory-level Dancer’s Degree, Bolshoi Ballet Academy/Moscow State Academy of Choreography, 2009-2012
- Shakespeare’s Heightened Language Workshop, Levels I-III, Patsy Rodenburg Michael Howard Studios, New York, NY, 2014 & 2016
- Guildhall School of Music & Drama, BA (Hons) in Acting, 3 years, 2016-2019
เกิด: 17 มกราคม 1998
ครอบครัว: แม่ – ฟินแลนด์, พ่อ – จีนฮ่องกง
ภาษา: ฟินแลนด์, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, รัสเซีย
ดนตรี: ร้องเพลง (Mezzo-soprano), เปียโน
การเต้น: Ballet, Period dance, Show dance, 20th Century dance, Country Dancing, Folk Dancing, Jazz Dancing, Modern Dance, Waltz
กีฬา: เซิร์ฟ, ขี่จักรยาน, ขี่ม้า, ไอซ์สเก็ต, ปีนเขา, สกี, ออกแบบการต่อสู้, ว่ายน้ำ, ว่ายน้ำ (ในแหล่งน้ำเปิด)
ความสามารถพิเศษอื่นๆ: กายกรรม, นักตัดชุดเครื่องแต่งกายโบราณ (professional), ถักเปีย, นิตติ้ง, เย็บปักถักร้อย, จิตรกรรม, ถ่ายภาพ, งานเย็บ (เย็บมือและจักร), Trapeze (static)
สิ่งที่โปรดปรานที่สุด: เสรีภาพ, การสำรวจ คือในช่วงเวลาที่คุณหมกมุ่นอยู่กับบางสิ่งบางอย่างแล้วโลกรอบตัวคุณก็หลุดลอยไป, หนังสือ, ภูเขา และการปีนเขา, เล่นเซิร์ฟ และธรรมชาติ
หนังสือเล่มโปรด: Maurice ของ E.M Forster, Blindness ของ Jose Saramago
หนังสือที่อ่าน: Oblivion ของ Sergei Lebedev, The Mind is Flat: The Illusion of Mental Depth ของ Nick Chater, The Improvised Mind ของ Nick Chater, Confessions of a Mask ของ Yukio Mishima, Death at Intervals ของ Jose Saramago, The Stranger โดย Albert Camus
เพลงที่ชอบ: Ray Noble, The Animals, Water Music Suites ของ George Frideric Handel
ชุดบัลเลต์ที่ชอบ: Giselle, Spartacus
ภาพยนตร์เรื่องโปรด: The Count of Monte Cristo (2002), Amadeus (1984), Ip Man (2008), The 13th Warrior, What Dreams May Come, Pride & Prejudice, Three Thousand Years of Longing, Everything Everywhere All At Once (2022)
นักแสดงคนโปรด: Audrey Hepburn, Anna May Wong
สิ่งที่กลัวที่สุด: กลัวทำให้ครอบครัวผิดหวัง, ใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยว, ใช้ชีวิตที่ไม่ต้องการ/รู้สึกแย่เมื่อมองกลับไป
น้ำหอม: กลิ่นดอกลาเวนเดอร์และโรสวูด
ผลงานการแสดง
- Warrior Nun รับบทเป็น Sister Beatrice (2020-2022)
- A Gift from Bob รับบทเป็น Bea (2020)
- Outside the Wire รับบทเป็น Corp. Mandy Bale (2021)
- Dancing Through the Shadow รับบทเป็น Tia Zhang (2021)
ผลงานละครเวที
- Fury (dir. Nicole Charles) ณ Guildhall รับบทเป็น Fury
- Saturday, Sunday, Monday (dir. Joseph Blatchley) ณ Guildhall รับบทเป็น Attilia
- The Last Days of Judas Iscariot (dir. Wyn Jones) ณ Guildhall รับบทเป็น Henrietta Iscariot
- The Two Gentlemen of Verona (dirs. Niamh Cusack & Finbar Lynch) ณ Guildhall รับบทเป็น Speed
- Agamemnon (dir. Patsy Rodenburg) ณ Guildhall รับบทเป็น Cassandra
- Oklahoma! (dir. Christian Burgess) ณ Guildhall รับบทเป็น Laurey
- Miss Julie (dir. Wyn Jones) ณ Guildhall รับบทเป็น Miss Julie
- Love for Love (dir. Lisa Blair) ณ Guildhall รับบทเป็น Jeremy
- The Seagull (dir. Wyn Jones) ณ Guildhall รับบทเป็น Arkadina
- Now or Later (dir. Jamie Bradley) ณ Guildhall รับบทเป็น Joan Jr.
- The Crocodile’s Gift (dir. Geoff Bullen) ณ Everyman Theatre, Cheltenham (2015) รับบทเป็น Damura/Jelita
ผลงานบัลเลต์
- La fille mal gardée ณ Bolshoi Theatre (2010)
- The Sleeping Beauty ณ The Kremlin Ballet (2011)
- Le Corsaire ณ The Kremlin Ballet (2011)
ชาติไหนไม่สำคัญ ฉันคือพลเมืองโลก
“ฉันว่าฉันเองก็ไม่ได้คิดถึงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของฉันมากขนาดนั้นเมื่อโตขึ้น” Kristina Tonteri-Young บอกกับ Timid เธอคิดว่าตัวเองเป็น “พลเมืองของโลก” (citizen of the world) มากกว่า “ฉันเกิดที่เฮลซิงกิ แม่เป็นคนฟินแลนด์ พ่อเป็นคนจีน แต่ครอบครัวของเขาย้ายจากฮ่องกงไปโอ๊คแลนด์ เขาก็เลยเติบโตที่นิวซีแลนด์” ในช่วงปลายปี 2005 ครอบครัวของเธอย้ายจากฟินแลนด์ไปยังนิวยอร์ก KTY ใช้เวลาไปกับการปรับตัวที่นั่น ในช่วงมัธยมต้น เธอก็ย้ายไปเรียนที่มอสโก ประเทศรัสเซีย เพื่อเข้าเรียนบัลเลต์ที่ Bolshoi Ballet Academy แต่เกิดอาการบาดเจ็บ จนทำให้อาชีพนักบัลเลต์ของเธอต้องจบลง หลังจากนั้นก็ย้ายกลับมานิวยอร์ก และเรียนการแสดงที่ลอนดอนต่อที่ Guildhall School of Music & Drama
“คนชอบถามฉันเรื่องสำเนียงของฉันนะ เพราะว่าตอนที่ฉันอยู่อเมริกา ฉันพูดสำเนียงอเมริกา ตอนฉันอยู่อังกฤษ ฉันก็พูดด้วยสำเนียงอังกฤษ แล้วพวกเขาก็ถามว่าเปลี่ยนทำไม คือภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาหลักของฉัน มันก็เลยไม่สำคัญเลยว่าฉันจะใช้สำเนียงไหน การทำให้ตัวเองเป็นสิ่งที่พวกเขาไม่จำเป็นต้องถามคำถามนั้นง่ายกว่า แบบให้ตัวเองกลายเป็นกิ้งก่าไปเลย”
สำหรับใครที่กำลังสับสนหรือกำลังหาว่าตัวเองอยู่ตรงไหน KTY บอกว่า สิ่งที่ช่วยเธอได้ก็คือการเลิกหมกมุ่นกับคำตอบของตัวเอง “ฉันวิ่งชนกำแพงเยอะมาก ฉันลองแสดงตัวตนผ่านเสื้อผ้า แบบ ‘ฉันคือคนนี้รึเปล่า’ หลังจากนั้นสักพักก็จะรู้สึกแย่ หลังจากนั้นฉันก็จะปิดมันไปเลย แล้วมันก็จะรู้สึกไม่ถูกต้องเหมือนกัน”
จากคำถามที่ว่า “คุณมากจากไหน” KTY ก็ให้ข้อสังเกตว่า “ในฐานะของคนที่มีมรดกจากหลายที่ คุณมักจะรู้สึกว่าคุณไม่ได้อยู่ตรงจุดไหนเลย เมื่อคุณได้เห็นผู้คนที่มีภูมิหลังแตกต่างกันและได้เห็นการใช้ชีวิตของพวกเขา คุณก็จะเรียนรู้ที่จะสร้างบ้านให้กับตัวเอง ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนก็ตาม” แน่นอนว่า KTY ก็ได้บอกว่า ไม่มีวิธีไหนที่มองโลกในแง่ดีได้มากไปว่าการเดินทาง และใช้ชีวิตในทุกๆ ที่เท่าที่คุณจะทำได้ “ฉันคิดว่ามันให้บางอย่างกับคุณนะ เพราะในฐานะนักแสดง คุณมักจะอยู่ท่ามกลางผู้คนที่หลากหลาย เพราะงั้น คุณก็เลยสามารถเป็นส่วนหนึ่งของทุกที่ได้ด้วยเช่นกัน”
“ฉันคิดว่า ถ้ามีคนถามฉันในวันนี้ แบบ ‘คุณเป็นนักแสดงชาวอเมริกันรึเปล่า’ หรือ ‘คุณเป็นนักแสดงชาวฟินแลนด์ใช่ไหม’ ฉันก็ไม่รู้ว่าจะตอบยังไงดี” KTY บอก “แต่นั่นก็ไม่เป็นไรนะ ฉันก็คงจะถามพวกเขากลับไปว่า ‘ทำไมคุณถึงต้องรู้ล่ะ’ คือแค่รู้ว่าเป็นนักแสดงหรือมนุษย์จากที่ไหนก็ไม่เป็นไรใช่ไหม คุณไม่จำเป็นต้องตอบแบบ ‘ฉันมาจากที่นี่และเป็นที่เดียว’ มันโอเคที่คุณจะอยู่ตรงกลาง ความสวยงามของความหลากหลายทางวัฒนธรรมก็คือการที่คุณสามารถลื่นไหลไปมาท่ามกลางวัฒนธรรมที่แตกต่างกันทั้งหมดนี้ได้”
ชีวิตนอกเหนือจากการแสดง
ในช่วงที่ KTY เดินทางกลับจากรัสเซียมายังนิวยอร์ก เธอใช้เวลาไปกับการตัดชุด ตัดเครื่องแต่งกาย คอสเพลย์ ซึ่งตัวของเธอก็ลงรูปเอาไว้ใน Instagram เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นชุดคอสเพลย์ที่ตัดเอง อุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งเธอก็เคยบอกว่ากับ Big Gay Energy ว่าเธอก็เคยคอสเพลย์ตอนอายุ 14 ปี เคยเป็นส่วนหนึ่งของแฟนด้อมมาก่อน เธอเคยทั้งไปนอนบนพื้นสถานที่จัดงาน นั่งรอกลุ่มคอสเพลย์ นั่งอ่านแฟนฟิคชั่น และนั่นก็คือส่วนหนึ่งของชีวิตวัยรุ่นของเธอ ไปร่วมงาน Comic-Con ในหลายๆ ที่ พร้อมกับสวมชุดคอสเพลย์ที่เธอตัดขึ้นมาเอง เธอให้สัมภาษณ์กับ ELLE Canada ว่า “เครื่องแต่งกายบอกถึงตัวละครจริงๆ และเสื้อผ้าก็สามารถเปลี่ยนการแสดงของฉันได้”
KTY คอสเพลย์เป็นตัวละครหลายๆ ตัวด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น Thranduil, Maglor, Curufin, Mandos จาก Lord Of The Rings, Uta จาก Tokyo Ghoul, Levi Ackerman จาก Attack on Titan, Titus Abrasax จาก Jupiter Ascending, Thomas Sharpe จาก Crimson Peak, Obi-Wan จาก Star Wars, Giselle จากบัลเลต์ชุด Giselle, Hamlet, Dorian Gray, ยุค Renaissance, ยุค Elizabethan, ยุค Victorian เป็นต้น
นอกจากการตัดชุดคอสเพลย์แล้ว ในช่วงกักตัว เธอก็ใช้เวลาไปกับการเล่นเซิร์ฟ “ฉันรักการเซิร์ฟ ไม่มีความรู้สึกไหนที่จะดีไปกว่าการอยู่ในน้ำและปล่อยให้คลื่นซัดพาตัวคุณไป” KTY บอกกับ Flunt “ฉันชอบเดินป่าและปีนเขาด้วย ฉันหลงใหลในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่สวยงาม เพราะงั้น ฉันก็เลยรักการทำเครื่องแต่งกาย การตัดเย็บ แล้วก็ดนตรีคลาสสิก”
กิจกรรมที่เธอทำในช่วงกักตัวนั้น ก็ยังรวมไปถึงการเขียนบทละครด้วยเหมือนกัน “ฉันเขียนบทละครเรื่องนึงที่ได้แรงบันดาลใจมาจาก “Waiting for Godot” ของ Samuel Beckett ที่เกี่ยวข้องกับการกักตัว ความเหงา และความรู้สึกที่เหมือนกับว่าคุณไม่รู้ว่าคุณมาถึงจุดนี้ในชีวิตได้ยังไง แล้วไม่รู้ว่าจะมุ่งหน้าไปทางไหน เอาจริง เอาจริงมันไร้สาระแล้วมันก็ทำให้เสียสมาธิด้วย”
จุดเริ่มต้นของการเป็นนักบัลเลต์
“ฉันเริ่มเต้นบัลเลต์ตอนอายุ 3 ขวบ” KTY บอกกับ VHS VENTURES เธอจริงจังกับบัลเลต์มากๆ ถึงกับไปเรียนต่อที่ Bolshoi School “ตอนฉันเป็นวัยรุ่น ฉันได้รับบาดเจ็บหลายครั้ง แล้วก็ต้องผ่าตัดถึงสองครึ่ง ในที่สุดฉันก็ตระหนักได้ว่า ฉันสามารถฝืนบางสิ่งในร่างกายที่ไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือฉันอาจจะหาช่องทางที่สร้างสรรค์อื่นๆ เพื่อทำมันต่อไป ตอนนั้นฉันไม่รู้จริงๆ ว่าตัวเองต้องการทำอะไร จะทำอะไรหลังจากที่ออกจากโรงเรียนบัลเลต์ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในโลก มันเหมือนกับการก้าวออกจากขอบหน้าผาและตกลงไปในเหวลึก แต่โชคดีที่ฝีมือการแสดงและเรื่องราวมันดึงดูดใจฉัน ฉันก็เลยตัดสินใจที่จะลองการแสดงดู”
บัลเลต์ที่ KTY ชอบมากๆ ก็คือ Giselle นั่นถือเป็นบัลเลต์ชุดแรกที่เธอดู และเป็นบัลเลต์ที่เธอชอบ “สำหรับฉันแล้ว มันสื่อถึงข้อความที่ว่า ไม่มีความละอายใจในการเปิดใจและการไว้วางใจในผู้คน หรือติดตามบางสิ่งหรือบางคนอย่างสุดจิตสุดใจ แม้ว่าคุณจะล้มเหลวหรือถูกทำร้ายจากพวกเขาก็ตาม มันมีความสงบสุขเสมอในการให้อภัย และความรักในการปล่อยวางสิ่งนั้น” นอกจาก Giselle แล้ว Spartacus ก็คืออีกหนึ่งชุดบัลเลต์ที่เธอชอบ “Spartacus คือบัลเลต์ที่ทำให้ฉันอยากเกิดเป็นผู้ชาย แล้วจะได้เต้นในบทบาทของผู้ชาย มันเป็นสิ่งที่ฉันอยากทำมาตลอด นอกจากนี้แล้ว ดนตรีของ Aram Khachaturian ยังน่าทึ่งอีกด้วย”
แม้ว่าเธอจะไม่ได้เป็นนักบัลเลต์แล้ว แต่ล่าสุด ผลงานภาพยนตร์เรื่อง Dancing Through the Shadow เมื่อปี 2021 ที่เล่าเรื่องราวของ Tia Zhang นักบัลเลต์ชาวจีนในยุคเหมาเจ๋อตุง เรื่องราวเกิดขึ้นในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน และกินเวลายาวนานเกือบ 50 ปี ซึ่ง KTY ก็ได้กลับมาสวมรองเท้าบัลเลต์เพื่อเต้นในภาพยนตร์เรื่องนี้อีกครั้ง
สำหรับความคล้ายคลึงกันระหว่างบัลเลต์กับการแสดงนั้น KTY มองว่ามันมีความคล้ายคลึงกันหลายอย่าง ทั้งการเล่าเรื่องและการเล่นเป็นตัวละครต่างๆ “แต่บางสิ่งที่น่าเซอร์ไพร์สที่สุดก็คือการฝึกบัลเลต์ของฉันมันช่วยเสริมการฝึกการแสดงและงานที่ฉันได้รับนั้นด้วย ฉันโชคดีมากๆ ที่ได้ทำมัน” นอกจากนี้แล้ว KTY ก็ยังพูดถึงความแตกต่างของทั้งสองอย่างด้วยว่า “ในแง่ของความแตกต่าง ฉันคิดว่าการแสดงเป็นรูปแบบการสื่อสารที่มีสัญชาตญาณมากกว่า ในบัลเลต์คลาสสิก คุณต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้เลยว่าร่างกายของคุณกำลัทำอะไร และคุณไม่ควรที่จะมีเรื่องน่าเซอร์ไพร์สเกิดขึ้นบนเวที ขั้นตอนต่างๆ มันถูกกำหนดเอาไว้แล้ว ในขณะที่การแสดง แน่นอนว่าเมื่อคุณเป็นตัวละครนั้นโดยรู้ว่าฉากนั้นมันจะไปนทิศทางใด แล้วตัวละครมาจากไหน ซึ่งมันไปเน้นที่การสำรวจมากกว่า”
ผลงานตัวหลักเรื่องแรกใน Warrior Nun
ในผลงานเรื่อง Warrior Nun นั้น Kristina Tonteri-Young รับบทเป็น Sister Beatrice แห่งคณะดาบกางเขน ที่เธอทำหน้าที่เป็นผู้ปกป้องแม่ชีนักรบอย่าง Ava Silva หญิงสาวที่ฟื้นจากความตายและเป็นผู้ถือครองเฮโล ในฐานะนักแสดง เธอมองว่าซีรีส์เรื่องนี้มันมีความเป็นสากลมากๆ และการถ่ายทำมันก็วิเศษสุดๆ “ในกองถ่าย พวกเขาพูดกันอย่างน้อยสี่ถึงห้าภาษาในฉากตลอดเลย เพราะงั้น มันก็เลยน่าทึ่งมากๆ และสำหรับการรับบทเป็นเบียทริซนั้น เธอก็ผูกพันกับตัวละครตัวนี้มากๆ “ฉันดีใจที่คนอื่นๆ ได้เห็นตัวละครที่วิเคราะห์เก่ง ฉลาด แล้วก็ไม่มีใครทำแต่เธอทำ ไปจนถึงการพูดถึงเรื่องเพศของพวกเขาด้วย พวกเขาเติบโตจากทักษะของพวกเขาเอง และฉันคิดว่านั่นเป็นสิ่งที่มีค่ามากๆ และดีใจมากด้วยที่จะได้นำเสนอเรื่องราวเหล่านี้ แบบการที่ได้เห็นสิ่งที่ผู้หญิงเหล่านี้ทำ และพวกเธอก็ทำมัน พวกเธอเจ๋งมาก”
การเตรียมตัวสำหรับบทบาทซิสเตอร์เบียทริซ
ในการเตรียมตัวรับบทเป็นซิสเซอร์ของศาสนาคริสต์นั้น KTY บอกว่าเธอค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องศาสนาและสิ่งที่ต้องทำเมื่อเป็นนักบวช แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมันกลับเป็นการค้นหาภายในของตัวเองมากกว่า “ฉันค้นหาสายสัมพันธ์ที่จะเชื่อมโยงฉันกับอารมณ์ของเบียทริซ ค้นหาวิธีการสร้างความสัมพันธ์กับเธอในระดับอารมณ์ที่ลึกซึ้ง และฝึกสตั๊นท์กับคนอื่นๆ ด้วย”
อย่างที่เราได้เห็นกันในซีรีส์ เบียทริซเป็นคนที่ค่อนข้างเงียบ เก็บตัว และอดกลั้นเอามากๆ KTY ก็เห็นเช่นเดียวกันกับพวกเรา “เบียทริซเป็นคนเก็บตัว แล้วก็ใช้ชีวิตแบบเซน เธอเป็นคนช่างวิเคราะห์และฉลาด” แต่ในหลายๆ ครั้ง ตัวละครแบบนี้อาจจะกลายเป็นคนที่เย็นชาและดูไร้อารมณ์ไปได้ “ฉันไม่อยากเล่นเป็นตัวละครที่เย็นชาและไร้อารมณ์ ฉันต้องการให้มีความลึกทางอารมณ์ในตัวของเธอ บางทีเธออยากจะเลือกที่จะหลีกเลี่ยง แต่ความท้าทายมาพร้อมกับการแสดงให้เห็นว่าเธอเป็นคนที่ละเอียดอ่อนแต่ชัดเจน” เธอเสริมต่อว่า “ฉันอยากให้เธอเป็นคนที่อบอุ่น แม้ว่าเธอจะไม่สามารถแสดงอารมณ์ทั้งหมดของเธอได้ตลอดเวลา แต่พวกเขาก็กำลังเดือดปุดๆ ใต้ผิวน้ำอย่างแน่นอน ความสมดุลที่ละเอียดอ่อนคือสิ่งที่ท้าทายสุด”
นอกจากเรื่องการเตรียมตัวในด้านอารมณ์และตัวละครแล้ว การเตรียมตัวด้านการฝึกฝนการต่อสู้ต่างๆ ก็เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับซีรีส์เรื่องนี้ และในฐานะของซิสเตอร์นักรบด้วยเช่นกัน ในซีซั่นแรกของ Warrior Nun เหล่านักแสดงผู้รับบทซิสเตอร์นักรบก็ถูกส่งตัวไปยังโกดังของเหล่าสตั๊นท์เพื่อฝึกการต่อสู้ทันทีที่ลงจากเครื่องบิน ยกเว้น Alba Baptista ผู้รับบท Ava Silva ที่เข้ามาฝึกในกองล่วงหน้าไปก่อนแล้วประมาณสองถึงสามสัปดาห์
“เมื่อเรามาถึงสเปน เราถูกส่งตรงไปยังโกดังของเหล่าสตั๊นท์เพื่อเริ่มฝึกสตั๊นท์กับคนอื่นๆ ซึ่งมันดีมากๆ” มันถือเป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่จะทำให้ทุกคนได้ทำความรู้จักกัน รวมไปถึงการสร้างสัมพันธ์สำหรับตัวละครของเหล่าซิสเตอร์นักรบอีกด้วย “มันช่วยในการสร้างความไว้วางใจและไดนามิกระหว่างซิสเตอร์คนอื่นๆ ฉันได้เรียนรู้การออกแบบท่าเต้นกับ Bo-Staff และการขว้างมีด นอกจากนี้แล้วยังได้เรียนรู้การยิงปืน มันน่าทึ่งมากๆ เลย” นอกจากนี้แล้ว KTY ก็ยังได้ทำความรู้จักกับสตั๊นท์ดับเบิลของเธอ Hélène Tran ที่จะมาร่วมงานด้วยกันในซีซั่นแรกอีกด้วย
นอกจากนี้แล้ว พื้นฐานการเต้นของคริสติน่าก็ช่วยเธอไว้ได้มาก เธอบอกด้วยว่า “ฉันคิดว่าพื้นฐานการเต้นของฉันมันทำให้ช่วยให้ฉันตระหนักถึงร่างกายของฉันและสิ่งที่ร่างกายกำลังจะทำ ไปจนถึงการแสดงให้มันสัมพันธ์กับคนอื่นๆ ด้วย นั่นเป็นประโยชน์มาก ในแง่ของเทคนิคของการอยู่บนหน้าจอ นอกจากนี้แล้ว ศิลปะการต่อสู้ที่เบียทริซเชี่ยวชาญก็คือศิลปะการต่อสู้แบบจีนที่เรียกว่าวูซู ที่มีพื้นฐานมากจากการต่อสู้วูซูจริงๆ ในการเคลื่อนไหวนั้นมันมีรู้แบบการต่อสู้ที่เป็นรูปแบบสั้นๆ ด้วย แล้ว Hélène Tran สตั๊นท์ดับเบิลของฉันก็เชี่ยวชาญในวูซู เพราะงั้น เราก็เลยเข้ากันได้ในแง่ของการเคลื่อนไหวอย่างสง่างามและท่วงท่าที่แน่นอน นั่นมันช่วยได้มากๆ เลย”
สำหรับฉากโซโล่สุดไอคอนิกของเบียทริซในห้องโถงของ Arq-Tech ในซีวั่นแรกนั้น KTY เล่าว่าเธอใช้เวลาเตรียมตัวทั้งวันเพื่อลำดับเหตุการณ์และทำมันอย่างช้าๆ ฉันคิดว่าพวกเราทำมันอย่างช้าๆ ลงไปสองสามรอบ เพราะไม่มีใครอยากเข้าใกล้ฉันในขณะที่ฉันแกว่งไม้กระบองยาวหกฟุตไปมาแบบไม่ตั้งใจ แต่ฉันก็เรียนรู้ลำดับขั้นตอนนั้นด้วยในตอนต่อๆ มา ในเอพเก้าไม่ก็สิบ แต่ท้ายที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรที่ดีไปกว่าที่ Hélène ได้ทำดีที่สุด”
Kristina Tonteri-Young ขวัญใจชาวเควียร์ POC
นอกจากฉากการต่อสู้เดี่ยวในโถงทางเดินทั้งสองซีซั่นแล้ว อีกหนึ่งฉากที่ทำให้หลายๆ คนรู้สึกรักซิสเตอร์เบียทริซมากขึ้นกว่าเดิมก็คือฉากที่เบียทริซอ่านบันทึกให้เอวาฟัง เล่าเรื่องราวของซิสเตอร์เมลานี เลสเบี้ยนที่ถูกกักกันในค่ายคักกันที่ Dachau ก่อนที่จะกลายเป็นแม่ชีนักรบ และเบียทริซเองก็บอกว่าเธอเองก็เป็นเกย์เหมือนกับซิสเตอร์เมลานี และถูกสอนให้เกลียดและกลัวสิ่งที่ตัวเองเป็นมาตลอดชีวิต แล้วเอวาเองก็ปลอบเบียทริซว่า “อย่าเกลียดตัวเองเลย สิ่งที่เธอเป็นมันงดงาม”
ฉากนี้ถือเป็นสิ่งที่ทำให้แฟนๆ ชาวเควียร์ที่ได้รับชม ประทับใจเป็นอย่างมาก และหลายๆ คนก็ได้กำลังใจจากฉากนี้อีกด้วย โดยเฉพาะเหล่าเควียร์ที่เป็นคนผิวสี (POC) “เบียทริซเป็นคนที่ระมัดระวังตัวเองมาก ฉันคิดว่าการเลี้ยงดูเธอและชีวิตของเธอจนถึงจุดที่เราได้พบกับเธอในตอนต้นของซีซั่นแรก ทำให้เธอต้องปกป้องตัวเองและความเป็นตัวเองของเธอเอาไว้” จนกระทั่งในซีซั่นสอง ที่เบียทริซเดินทางไปพร้อมๆ กับเอวาและเปิดกว้างมากขึ้น เป็นอิสระมากขึ้น และเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น”
แม้ว่าเบื้องหลังของตัวละครเบียทริซจะไม่ใช่คนเอเชียโดยตรง แต่ตัวละครนี้ก็โดนใจชาวเอเชียจำนวนมาก โดยเฉพาะชาวเอเชียที่เป็นเควียร์ “ฉันไม่มั่นใจว่าในตอนแรกเธอถูกเขียนมาให้เป็นคนเอเชียมั้ยนะ ฉันสงสัย เพราะว่ารูปแบบศิลปะการต่อสู้ที่เธอทำ และฉันก็คิดว่ามันมีความแบบสเตอริโอไทป์เรื่องความสมบูรณ์แบบ แบบเอเชียเล็กน้อยที่ปะปนอยู่ในนั้น”
สำหรับ KTY เอง เธอก็มีความคล้ายคลึงกับเบียทริซอยู่เหมือนกัน “ฉันคิดว่า ฉันเติบโตมาแบบเป็นเด็กที่รู้ทุกอย่าง ฉันรู้สึกเหมือนต้องพิสูจน์ตัวเองอยู่ตลอดเวลาว่าจะต้องฉลาดขึ้น เก่งขึ้น เก่งที่สุดในชั้นเรียน ทำทุกอย่างให้สมบูรณ์แบบเพื่อให้คนอื่นเห็นคุณค่าของฉัน ที่ฉันต้องเอาสิ่งที่มีประโยชน์ขึ้นมาโชว์หรือเพราะแค่รู้สึกว่านี่เป็นประโยชน์กับคนอื่นและทำให้คนอื่นภูมิใจ พอฉันโตขึ้น ฉันถึงได้รู้ว่า มันไม่น่าสนใจเอาซะเลย คุณสามารถใช้ชีวิต หายใจ และเป็นคนที่มีสีสันได้ และยังเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่คุณก็รู้ว่าคุณสามารถหยิบมันมาจากทักษะของคุณได้”
Representation ใน Warrior Nun
Warrior Nun ไม่ได้เป็นซีรีส์ที่เกี่ยวกับความเควียร์หรือเชื้อชาติเป็นหลัก แต่ก็ได้สื่อสารถึงเรื่องราวเหล่านี้ออกมาผ่านตัวละครต่างๆ และสำหรับตัวละครเบียทริซ เธอเป็นทั้งเควียร์และคนเอเชีย ซึ่งการนำเสนอเรื่องราวนี้ก็ถูกส่งออกมาผ่านการแสดงของ Kristina Tonteri-Young อีกด้วย และในหลายๆ ครั้ง เรามักจะเห็นตัวละครเควียร์ที่เป็นชาวเอเชีย จะถูกดันให้กลายไปเป็นตัวละครเสริมกลายๆ หรือถูกลดทอนไปให้กลายเป็นแค่คนรัก หรือถูกสเตอริโอไทป์เอาไว้ แต่สำหรับ Warrior Nun เบียทริซไม่ได้ถูกปฏิบัติในรูปแบบนั้นเลยสักนิด
“มันเป็นสิ่งที่ดีเสมอที่ได้เห็นการนำเสนอทางวัฒนธรรมที่เฉพาะเจาะจงในเนื้อหาของเรื่อง” KTY บอก “ฉันไม่คิดว่ามันเป็นเรื่องจำเป็นเสมอไปที่จะต้องผลักดันในรูปแบบที่รุนแรง ฉันคิดว่า แค่คุณแสดงตัวเองและเป็นตัวคุณก็พอ การที่คุณอยู่ที่นั่นในฐานะลูกครึ่งหรือคนเอเชีย หรือไม่ว่าคุณจะเป็นใคร ก็สามารถเป็นตัวแทนได้อย่างหนักแน่นเกี่ยวกับการนำเสนอวัฒนธรรม”
การเป็นตัวแทนในการนำเสนอบางอย่างมันก็อาจจะยากสักหน่อย โดยเฉพาะเมื่อมันมีความหลากหลายน้อย ซิสเตอร์เบียทริซเป็นหนึ่งในตัวละครที่มีพัฒนาการและแสดงออกมาอย่างชัดเจนด้วยความเอาใจใส่ ทั้งในเรื่องราวเบื้องหลังของตัวละครและในส่วนที่กำลังเดินทางต่อไปด้วย “มันเป็นความสุขของฉันเลย” เธอบอก “เป็นเกียรติมากๆ ที่ได้เล่นเป็นเบียทริซ” และมันก็ถือเป็นเรื่องดีที่แบบ ไม่ต้องรู้สึกว่าแบบ มันเป็นแค่เพียงบทบาทเล็กๆ ที่ให้คนอื่นได้มองเห็นเท่านั้น
ยิ่งไปกว่านั้นแล้ว บทบาทเบียทริซถือเป็นบทบาทที่สร้างแรงกระเพื่อมให้กับผู้ชมชาวเควียร์ได้อย่างมาก “ฉันรู้นะว่ามันอาจจะอิมแพค แต่ก็ไม่ได้คิดว่ามันจะใหญ่และได้รับผลตอบรับที่ดีขนาดนี้” เธอบอก “ไม่ใช่ว่าฉันคาดหวังการตอบสนองในเชิงลบนะ คือฉันไม่รู้เลยว่ามันจะเป็นยังไง ฉันก็คิดอยู่เหมือนกัน เพราะมันถือเป็นงานแรกของฉัน เพราะงั้นฉันก็เเลยไม่รู้ว่าจะได้รับการต้อนรับจากแฟนๆ มากขนาดนี้” เธอเสริมต่อดเ้วยว่า “ฉันแปลกใจนะ ในแง่ดี และรู้สึกขอบคุณมากๆ สำหรับโอกาสที่ได้เป็นตัวแอทนแบบนี้ ซึ่งมันสำคัญมาก และมันก็ยังคงทำให้ฉันประหลาดใจจนถึงทุกวันนี้ ฉันได้รับข้อความที่จริงใจตลอดเลย และด้วยความสามารถที่มี และแพลตฟอร์มที่สามารถเข้าถึงผู้คนในวิธีแบบนี้ มันก็ช่วยให้พวกเขาได้ มันช่างเป็นเกียรติมากๆ”
The Ending
สำหรับตอนจบของ Warrior Nun ซีซั่น 2 ทาง KTY ก็บอกว่า “ฉันคิดว่าเธอก็คงพยายามตามหาเอวาอย่างแน่นอน ฉันคิดว่าเธอคงทำต่อไป ค้นคว้าและพยายามหาทางไปหาเอวาในอีกด้านหนึ่ง แต่ฉันก็อยากจะคิดว่า เธอคงพยายามที่จะมองโลกให้มากขึ้น เพราะว่าเอวาก็คงอยากที่จะให้เธอได้ใช้ชีวิต” เธอยังบอกต่อด้วยว่า “ฉันคิดว่าเธอกำลังจะออกจากโบสถ์นะ แต่ไม่ได้หมายความว่าเธอจะเลิกต่อสู้ บางครั้งในชีวิต คุณอยู่บนเส้นทางหนึ่ง และคุณก็ตระหนักได้ว่ามันไม่ใช่เส้นทางที่ถูกต้อง คุณกำลังไปสู่สิ่งที่ถูกต้องแต่ไปผิดทาง เพราะงั้น คุณก็ต้องหาวิธีอื่นเพื่อไปสู่เป้าหมายของคุณ ฉันก็เลยคิดว่าเบียทริซก็คงจะหาวิธีอื่นในการต่อสู้ แต่เป็นวิธีที่ซื่อสัตย์ต่อตัวเองมากกว่า และเธอพร้อมที่จะเป็นอิสระและซื่อสัตย์กับตัวเองมากขึ้น ฉันคิดว่านั่นคือสิ่งที่ฉันตั้งตารอ”
แต่อย่างที่รู้กันว่า Warrior Nun โดน Netflix แคนเซิลไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำหรับ KTY แล้ว เธอเองก็เลือกที่จะมองโลกในแง่ดี “การออกจากงานเลี้ยงเต้นรำ มันอาจจะเป็นจุดจบที่ยิ่งใหญ่ แต่ฉันหมายถึง ทุกๆ การสิ้นสุด คือการเริ่มต้นใหม่ เพราะงั้นฉันคิดว่าการเริ่มต้นใหม่โดยไม่รู้ว่าฉันอยู่ที่ไหนในตอนนั้น มันทำให้ฉันถอยหลังกลับมาแล้วก็คิดว่า ‘สุดท้ายแล้วฉันอยากที่จะอยู่ที่ไหน และอยากที่จะทำอะไร’ แล้วฉันก็จะซูมกลับเข้าไปเพื่อดูว่าฉันจะไปเส้นทางไหนต่อ ฉันคิดว่า บางครั้งเราทุกคนก็จำเป็นที่จะต้องถอยออกมาสักก้าวหนึ่ง โดยเฉพาะเมื่อเราอยู่ในช่วงเวลาที่ยิ่งใหญ่แบบนี้ คุณอาจจะพูดได้ว่า ช่วงเวลาแห่งหายนะในชีวิตเกิดขึ้นเมื่อเราเลือกเส้นทางใดเส้นทางหนึ่ง ก็ได้” เธอเสริมต่อด้วยว่า “คุณสามารถเริ่มต้นได้ทุกที่ทุกเวลา คุณสามารถเลือกที่จะเปลี่ยนเส้นทางของคุณหรือใช้เส้นทางอื่น หรือเปลี่ยนทิศทางไปเลยก็ได้ ฉันคิดว่าช่วงเวลาที่ฉันออกจากบัลเลต์นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ยิ่งใหญ่ เพราะถ้าฉันไม่ออกจากตรงนั้นมา ฉันก็คงไม่ใช่นักแสดงในวันนี้”
Warrior Nun สามารถรับชมได้ทาง Netflix
Sources:
- https://archive.flaunt.com/content/flaunt-qampa-kristina-tonteri-young
- https://brieftake.com/interview-warrior-nun-kristina-tonteri-young/
- https://twitter.com/dlvlnium/status/1619556845714309120
- https://www.ellecanada.com/culture/movies-and-tv/kristina-tonteri-young-warrior-nun-sister-beatrice
- https://www.gsmd.ac.uk/study-with-guildhall/drama/final-year-actors/final-year-actors-2018-19/kristina-tonteri-young
- https://www.independenttalent.com/actors/kristina-tonteri-young/
- https://www.spotlight.com/4938-8970-2499
- https://www.timidmag.com/features/kristina-tonteri-young
- https://www.veronicahelenspeck.com/lavventura-intro/kristinatonteriyoung
- https://www.youtube.com/watch?v=2zoI-T3R9IE