Hamilton: An American Musical เรื่องราวของสหรัฐที่ถูกเล่าผ่านมุมมองของคนอเมริกันยุคใหม่

| | ,

Who lives, Who dies, Who tells your story?

มิวซิคัลในรูปแบบแปลกใหม่ไม่คุ้นหูอย่าง Hamilton: An American Musical ถือเป็นหนึ่งผลงานที่หลายๆ คนให้ความสนใจ ตั้งแต่เป็นละครบรอดเวย์ที่แสดงในโรงละครไปจนถึงการนำมาฉายอีกครั้งบน Disney+

Hamilton: An American Musical ละครบรอดเวย์แบบ Sung-through musical ที่ใช้การแรปและดนตรีแบบ R&B ในการเล่าเรื่องราวชีวิตของ Alexander Hamilton หนึ่งในบิดาผู้สร้างชาติอเมริกา (Founding Father) และผู้คิดระบบการเงินการคลังของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นฐานสำคัญที่ทำให้อเมริกาก้าวขึ้นการเป็นประเทศมหาอำนาจโลกในปัจจุบัน

Lin-Manuel Miranda (ลิน-มานูเอล มิแรนด้า) ผู้ประพันธ์และนักแสดงในบทบาทของ Hamilton คนแรกบนเวทีบรอดเวย์ได้รับแรงบันดาลใจจากหนังชื่อชีวประวัติของ Hamilton ซึ่งเรียบเรียงโดย Ron Chernow (Alexander Hamilton By Ron Chernow, 2004) ที่เจ้าตัวถือติดมือไประหว่างการเดินทางเพื่อแสดงละครเพลงอีกเรื่องของเขา In The Heights ลินได้พบกับเรื่องราวของผู้ชายที่มีความน่าสนใจในทุกๆ ด้าน ทั้งในความเปลี่ยนผันในชีวิต เรื่องราวโรแมนติกและการเมือง จนเขาเกินฉงนใจว่าเพราะอะไรถึงยังไม่มีใครหยิบเอาเรื่องราวนี้มาเล่าต่อในรูปแบบต่างๆ เขาค้นไปเจอละครเวทีเพียงเรื่องเดียวแสดงขึ้นที่บรอดเวย์ในปี 1917 ซ้ำร้ายยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก

PARK CITY, UT - JANUARY 25: Lin-Manuel Miranda attends the official after party for "Siempre, Luis" ... [+] 
GETTY IMAGES FOR THE LATINX HOUSE
PARK CITY, UT – JANUARY 25: Lin-Manuel Miranda attends the official after party for “Siempre, Luis” … [+]
 
GETTY IMAGES FOR THE LATINX HOUSE

Lin-Manuel Miranda นำเสนอไอเดียของการทำละครเพลงโดยใช้ชีวประวัติของ Alexander Hamilton อย่างเป็นทางการต่อสายตาของสาธารณชนครั้งแรกในงานยามเย็นแห่งบทกวี ดนตรี และสุนทรพจน์ (Evening Of Poetry, Music and Spoken words) ที่จัดขึ้นภายในทำเนียบขาวช่วงปี 2009 เขาได้นำเสนอโปรเจกต์ The Hamilton Mixtape โดยทำการแสดงเพลง Alexander Hamilton (ยังไม่มีชื่อในขณะนั้น) ต่อหน้าประธานาธิบดี บารัค โอบามา ซึ่งเสียงตอบรับที่เขาได้กลับมานั้นคือความผสมผสานระหว่างความตลกขบขันและความประหลาดใจ รวมไปถึงความคาดหวังที่จะได้เห็นละครเพลงเรื่องนี้โลดแล่นอยู่บนเวที่บรอดเวย์ในเร็ววัน

ในที่สุดหลังจากที่ทำการแสดงครั้งแรกไปบนเวทีนอกอาณาจักรบรอดเวย์ Hamilton ก็กลายมาเป็นละครเพลงที่ทุกคนให้ความสนใจและจับตามองเป็นอย่างมาก ปรากฏการณ์ความนิยมของผู้ชมที่มีให้กับ Hamilton เป็นสิ่งที่ไม่เคยมีใครคาดคิด มีการรันล็อตเตอรีก่อนการแสดงในแต่ละรอบ เพื่อสุ่มหาผู้โชคดีที่จะได้บัตรชมการแสดงในราคาถูก และการเปิดการแสดงในประเทศอื่นๆ เพื่อให้โอกาสกับแฟนๆ ละครเพลงเรื่องนี้ได้เข้าชมการแสดงกันอย่างทั่วถึง

สำหรับอัลบั้มซาวน์แทรคอยู่ในตำแหน่งอันดับที่ 2 ในชาร์จ 25 อัลบั้มยอดเยี่ยมประจำปี 2015 ที่จัดอันดับโดยบิลบอร์ดโดยเป็ยรองเพียงอัลบั้ม Pimp to a Butterfly ของ Kendrick Lamar เท่านั้น

และข่าวดีล่าสุดของแฟนๆ ที่ไม่สามารถเข้าการแสดงสดได้ Disney+ ได้ลงทุนซื้อลิขสิทธิ์เทปบันทึกการแสดงสดไปในราคา 75 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อนำการแสดงนี้เข้าสู่บริการสตรีมมิ่งของตน ซึ่งก็ได้ทำกำไรให้กับบริษัทดิสนีย์ไปอย่างถล่มทลายตามความคาดหมาย สำหรับประเทศไทยนั้น สามารถรับชมละครเวทีเรื่องนี้ได้ทาง Disney+ Hotstar

Hamilton The Musicial

*ข้อมูล/การรีวิวต่อจากนี้จะอิงจากเนื้อหาในละครเพลงเป็นหลัก*

Hamilton มีดีอย่างไร?

แน่นอนว่าการนำเสนอเนื้อหาชีวประวัติของบุคคลสำคัญในรูปแบบของละครเพลงมักจะไม่ได้มีเนื้อหาตรงกับหนังสือประวัติศาสตร์ทั้งหมด การแต่งเติม ตัดแต่ง ดัดแปลงเนื้อเรื่องย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ซึ่งสิ่งนี้เองเป็นสิ่งที่ทำให้ละครเพลงเรื่องนี้มีเสน่ห์เป็นที่ชื่นชอบของกลุ่มคนดูที่หลากหลาย

“นี่คือเรื่องราวของสหรัฐอเมริกาที่ถูกเล่าผ่านมุมมองของคนอเมริกันยุคใหม่”

Lin-Manuel Miranda

เมื่อพูดถึงสหรัฐอเมริกา ในมุมมองของคนทั่วๆ ไปมักจะมีภาพของประเทศแห่งเสรีภาพและแผ่นดินแห่งโอกาสอยู่เสมอ และปฏิเสธไม่ได้ว่าในภาพจำของใครหลายๆ คนภาพประชากรของประเทศแห่งนี้ก็มักจะถูกนำเสนอเป็นคนขาวอยู่เสมอ Lin-Manuel Miranda มีความตั้งใจที่จะเล่าเรื่องราวของ อเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน ผ่านมุมมองของ “อเมริกันรุ่นใหม่” โดยมีแกนของไอเดียคือสหรัฐอเมริกาถูกสร้างขึ้นมาด้วยมือของประชากรผู้อพยพ (Immigrant)

“Immigrants, we get the job done” ประโยคจากเพลง ‘My shot’ จะถูกผู้ชมโห่เชียร์ด้วยความฮึกเหิม อเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน เขาเป็นชาวสก๊อตติช-ฝรั่งเศส โดยกำเนิดและเข้ามาอาศัยในแผ่นดินใหม่ในฐานะผู้อพยพเช่นเดียวกับคนอีกมากมายในสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน ผู้อพยพมักจะถูกตราหน้าเป็นผู้มาขออาศัย เกาะกินผลประโยชน์ของประชากรในชาติ ซึ่งเป็นหนึ่งในความเชื่อที่แฝงไปด้วยความชาตินิยมอันเป็นพิษ (Toxic Nationalism) และการเหยียดเชื้อชาติ (Racism) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการหาเสียงของประธานาธิบดี โดนัลล์ ทรัมป์ ที่เคยได้กล่าวไว้ว่าเขามีความประสงค์ที่จะสร้างกำแพงกั้นระหว่างประเทศเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกาเพื่อป้องกันแรงงานอพยพเข้ามาในประเทศ ซึ่งเขาคิดว่านั่นจะสามารถแก้ปัญหาเรื่องการตกงานของประชากรอเมริกันได้

ในประเทศเกิดใหม่อย่างสหรัฐอเมริกาหรือประเทศที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติตั้งแต่กำเนิดอย่างประเทศไทย เราไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าความเป็น “อเมริกัน” หรือนิยามใกล้ตัวเราอย่าง “ความเป็นไทย” ในปัจจุบันเกิดจากการผสมผสานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาจากผู้คนที่มีพื้นเพที่หลากหลาย ซึ่งนั่นเป็นเหตุให้ความเป็นชาตินิยมที่นำมาสู่การเหยียดเชื้อชาติเป็นการกระทำที่เกิดจากความเกลียดชังโดยสิ้นเชิง

Lin-Manuel Miranda ได้พามุมมองของ “อเมริกันยุคใหม่” ก้าวไปอีกขั้นเมื่อตัวละครผิวขาวถูกแสดงโดยนักแสดงผิวสี George Washington (จอร์จ วอชิงตัน) ประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกาแสดงโดย Christopher Neal Jackson นักแสดงผิวดำ และพี่น้องสไกเลอร์ (Schuyler Sisters) ทั้งสามที่แสดงโดย Renée Elise Goldsberry (นักแสดงผิวดำ) Phillipa Soo (นักแสดงเชื้อสายเอเชียน) และ Jasmine Cephas Jones (นักแสดงผิวดำ) รวมถึงนักแสดงที่เป็น PoC (People of color) อีกมากมายในละครเพลงเรื่องนี้ รวมถึงตัวลิน-มานูเอล มิแรนด้า เอง ผู้รับบทเป็นแฮมิลตัน ก็มาจากครอบครัวชาวปอร์โตริกันที่อพยพเข้ามาใช้ชีวิตในสหรัฐอเมริกาเช่นกัน

ทำไมต้องใช้นักแสดงผิวสีแสดงเป็นบุคคลสำคัญที่เป็นคนขาวกันล่ะ?

คำถามที่สำคัญกว่านั้นคือทำไมเราถึงจะทำไม่ได้?

Hamilton | Now Streaming | Disney+

อิสรภาพจากการปกครองของกษัตริย์อังกฤษ

ตัวละครของ King George III แห่งอังกฤษ ที่รับบทโดย Jonathan Groff (โจนาธาน กรอฟฟ์) ถูกแสดงออกมาให้กลายเป็นตัวสร้างเสียงหัวเราะในโชว์นี้ แทนที่จะเป็นตัวร้ายที่ทุกคนเอาใจช่วยให้พ่ายแพ้ไปในที่สุด เพลงหลักของ King George III อย่างเพลง ‘You’ ll be back’ ที่ Lin-Manuel Miranda ได้กล่าวว่าเขาได้แรงบันดาลใจในการประพันธ์เนื้อร้องและทำนองมาจากเพลงของ Sir Elton John ซึ่งทำให้ตัวละครตัวนี้สามารถแสดงความ “เยอะ” ออกมาได้อย่างเต็มที่ ความละเอียดลออในการเลือกใช้เนื้อร้องที่เลือกใช้คำสุภาพเป็นจำนวนมาก คำเรียกที่ใช้แสดงสถานะของกษัตริย์ผู้สูงส่งกับไพร่โพ้นทะเลผู้ต่ำต้อยอยู่ตลอด ทำให้ King George III เป็นตัวละครที่ผู้ชมชื่นชอบและหมั่นไส้ไปในเวลาเดียวกัน โดยตัวนักแสดงอย่างโจนาธานเองมีลักษณะเฉพาะของเขาในเวลาที่ร้องเพลงคือการที่น้ำลายของเขาอาจจะกระเด็นออกมาบ้างในบางช่วงของการร้องจนทำให้มีนักวิจารณ์และผู้ชมบางท่านตีความกันไปว่าเขาตั้งใจแสดงออกมาให้เป็นแบบนั้นเพื่อที่จะสะท้อนถึงบั้นปลายชีวิตของ King George III ที่กลายเป็นคนเสียสติหรือไม่ ทางนักแสดงได้กล่าวว่าเขาในส่วนนั้นไม่ใช่ความตั้งใจของเขาแต่มันเป็นอะไรที่น่าทึ่งมากที่สิ่งนี้สามารถส่งเสริมให้การแสดงของเขามีพลังมากขึ้นได้

บทบาทของ King George III เริ่มตั้งแต่การข่มขู่อเมริกาที่ก่อการกบฏ กับการปกครองของพระองค์หลังจากที่บทความเรื่อง Common Sense ของ Thomas Paine เป็นสื่อจุดประกายให้ชาวอเมริกันฉุกคิดได้อย่างที่แฮมิลตันกล่าวว่า “Why should the tiny island across the sea regulate the price of tea?” (เพราะเหตุใดเกาะขนาดกระจิ๋วหลิวโพ้นทะเลนั่น ถึงเป็นผู้กำหนดราคาชาในอเมริกากันล่ะ?)

Hamilton Richard Rodgers Theatre Cast Lin-Manuel Miranda Alexander Hamilton Javier Muñoz Alexander Hamilton Alternate Carleigh Bettiol Andrew Chappelle Ariana DeBose Alysha Deslorieux Daveed Diggs Marquis De Lafayette Thomas Jefferson Renee Elise Goldsberry Angelica Schuyler Jonathan Groff King George III Sydney James Harcourt Neil Haskell Sasha Hutchings Christopher Jackson George Washington Thayne Jasperson Jasmine Cephas Jones Peggy Schuyler Maria Reynolds Stephanie Klemons Emmy Raver-Lampman Morgan Marcell Leslie Odom, Jr. Aaron Burr Okieriete Onaodowan Hercules Mulligan James Madison Anthony Ramos John Laurens Phillip Hamilton Jon Rua Austin Smith Phillipa Soo Eliza Hamilton Seth Stewart Betsy Struxness Ephraim Sykes Voltaire Wade-Green Standby: Javier Muñoz (Alexander Hamilton) Production Credits: Thomas Kail (Director) Andy Blankenbuehler (Choreographer) David Korins (Scenic Design) Paul Tazewell (Costume Design) Howell Binkley (Lighting Design) Other Credits: Lyrics by: Lin-Manuel Miranda Music by: Lin-Manuel Miranda Book by Lin-Manuel Miranda
©Disney+ / The Schuyler sisters

มุมมองของเฟมินิสต์ใน Hamilton

ตัวละครหญิงใน Hamilton ถูกนำเสนอออกมาได้อย่างน่าสนใจเป็นอย่างมาก ภาพลักษณ์ของสามพี่น้องสไกเลอร์คือผู้หญิงที่เป็นที่หมายปองของผู้ชายหลายๆ คนเนื่องจากสถานะทางสังคมของพวกเธอ การแต่งงานของ Alexander Hamilton และ Elizabeth ‘Eliza’ Schuyler เปิดโอกาสให้แฮมิลตันก้าวเข้าสู่วงสังคมชั้นสูงของอเมริกา อาจจะถือเป็นก้าวแรกของชีวิตในด้านการเมืองการปกครองของเขาเลยก็ว่าได้

แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ Lin-Manuel Miranda ได้ประพันธ์บทบาทของสามพี่น้องสไกเลอร์ โดยดึงมุมมองด้านความคิดและศักดิ์ศรีของพวกเธอออกมาให้ผู้ชมได้เห็นจากเพลง Schuyler sisters ที่พูดถึงความสนใจของพวกเธอที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของสหรัฐอเมริกาทั้งในด้านสงครามและกระแสสังคม หน้าที่ของผู้หญิงในเปลือกของการแต่งงานยังมีเป้าประสงค์อื่นๆ อีกมากมายไม่แพ้เจตนาแฝงของฝ่ายชายที่มีจุดร่วมสำคัญเดียวกันคือการเลื่อนสถานะทางสังคมของตัวเอง ซึ่งในประเด็นนี้ผู้ที่รับภาระอันหนักอึ้งของตระกูลสไกเลอร์อย่างแองเจลิกา เธอจำเป็นต้องยอมให้เอไลซ่าแต่งงานกับแฮมิลตันแทนเพราะเขาไม่สามารถที่จะพาครอบครัวของเธอไปสู่จุดที่สูงกว่าที่เป็นอยู่ได้ รูปแบบของความรักที่ถูกสื่อออกมาในฐานะบุคคลที่มีความรักต้องห้ามให้กันที่ไม่ใช่ความโรแมนติก แต่เป็นความเข้าใจทั้งด้านความคิด ปรัชญา จึงนำมาสู่ความเคารพและสถานะที่ทั้งสองคนมีให้กันอย่างชัดเจนที่ถูกนำเสนอออกมาเป็นอีกหนึ่งรสชาติในละครเพลงที่เต็มไปด้วยเรื่องการเมือง บวกกับความสัมพันธ์ของแฮมิลตันที่มีให้กับเอไลซา สไกเลอร์ ภรรยาของเขาซึ่งเป็นผู้แบกรับและสนับสนุนความฝันของแฮมิลตันไว้ แต่กลับถูกเขาหักหลังด้วยการไปมีความสัมพันธ์กับ Maria Reynolds ซึ่งสองความสัมพันธ์นี้ถูกกำหนดไว้บนนิยายของคำว่า ‘Helpless’ (ช่วยไม่ได้)

Hamilton
©Disney+ / Courtesy Everett Collection
©Disney+ / Courtesy Everett Collection

‘Helpless’ ของเอไลซา เป็นคำอธิบายการตกหลุมรักของเธอที่มีให้กับแฮมิลตัน เธอไม่สามารถเลือกที่จะไม่รักเขาได้แล้วยังเป็นภรรยาที่สมบูรณ์แบบและแม่ให้แก่ลูกๆ ของแฮมิลตัน (ตามประวัติแฮมิลตันและเอไลซา มีบุตร-ธิดารวมกันทั้งหมด 8 คน แต่ในละครเพลงมีเพียงตัวละครของฟิลิป แฮมิลตัน และพูดถึงลูกสาวของพวกเขาเท่านั้น) รวมถึงการที่เธอไม่สามารถรั้งตัวสามีของเธอให้มาใช้เวลาร่วมกับครอบครัวและตัวเธอเองได้ในขณะที่เขามีภารกิจที่ยิ่งใหญ่กว่าครอบครัวอย่างการเสนอแผนการคลังให้กับสภาคองเกรสในขณะนั้น

เป็นเรื่องน่าเศร้าที่เมื่อมองจากมุมของเอไลซา ครอบครัวและสามีคือสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิต แต่สำหรับแฮมิลตันศักดิ์ศรีและที่ยืนของเขาในสังคมสำคัญกว่าครอบครัว เนื้อร้องในเพลงหลายๆ เพลงของเอไลซาจึงมีคำว่า ‘Helpless’ เป็นส่วนประกอบ สะท้อนถึงสิ่งที่เธอต้องจำยอมเพราะความรักที่เธอมีให้กับสามีนั่นเอง

คำว่า ‘Helpless’ ปรากฏอีกครั้งในเพลง ‘Say no to this’ ซึ่งเป็นเพลงที่บอกเราถึงเรื่องราวความสัมพันธ์ฉาวที่แฮมิลตันมีต่อ มาเรีย เรย์โนลด์ หญิงสาวที่กล่าวว่าความสัมพันธ์ของเธอและสามีไม่สู้ดีนักและเธอต้องการยืมเงินเขาในช่วงที่เขากำลังร่างแผนของเขาอยู่ในบ้านของเขาที่นิวยอร์คขณะที่เอไลซาเดินทางไปพักร้อนกับลูกและพี่สาวของเธอ ความสัมพันธ์อื้อฉาวของแฮมิลตันและมาเรีย เรย์โนลด์ สุภาพสตรีข้างบ้านถูกอธิบายด้วยคำว่า ‘Helpless’ จากมุมของแฮมิลตันเองแต่เป็นคนละความหมายกับ Helpless ขอเอไลซาอย่างสิ้นเชิง ในเนื้อเพลงนั้นเต็มไปด้วยข้ออ้างของแฮมิลตันที่มีให้กับตัวเขาเองในการนอกใจภรรยาและทำให้เกิดรอยร้าวในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลที่ว่าตัวเขากำลังเครียด หรือมาเรีย เรย์โนลด์ เป็นผู้ร้องขอให้เขาทำ หรือแม้แต่ข้ออ้างที่แย่ที่สุดอย่างการกระทำเกิดขึ้นเพราะความคิดถึงที่เขามีให้กับเอไลซา

ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องช่วยไม่ได้จริงๆ ที่เขาจำเป็นต้องนอกใจภรรยาสมบูรณ์แบบของตัวเองอย่างนั้นหรือ?

Katherine Ryan Stand-Up | The Problem With Hamilton | Netflix

เนื้อเพลง ‘Say no to this’ ถูกพูดถึงในการเดี่ยวไมโครโฟนของ Katherine Ryan ซึ่งเธอกล่าวว่าเธอรักโชว์นี้มาก เธอได้สรุปเรื่องราวของ Hamilton ให้กับผู้ชมของเธอฟังอย่างคร่าวๆ ว่า “หากคุณไม่ทราบว่า ‘อเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน’ เป็นใครล่ะก็ เขาคือหนึ่งในบิดาผู้สร้างชาติอเมริกา เขาช่วยสร้างกระบวนการยุติธรรม เขาเขียนรัฐธรรมนูญหลายบท เป็นเจ้าหน้าที่รัฐอาวุโสและเป็นถึงนายพลในสงครามประกาศอิสรภาพของอเมริกา รวมถึงมีอิทธิพลทางการเมืองจนน่ากลัว ถึงแม้ว่าเขาจะเป็นทั้งผู้อพยพและเด็กกำพร้ามาก่อนก็ตาม และทั้งหมดนั้นนะคะ เกิดขึ้นได้เพราะเขาเลือกภรรยาที่ทรงอิทธิพล” เธอกล่าว “และเธอ (Elizabeth Schuyler) เป็นภรรยาที่ยอดเยี่ยม นอกจากการที่เธอมาชนชั้นสูงส่งจากครอบครัวที่ทรงอิทธิพล เธอยังสร้างบ้านเด็กกำพร้าหลังแรกของอเมริกา…

“แล้วคุณรู้อะไรไหม วันหนึ่งเธอก็พูดว่า ‘แฮมิลตันที่รัก เราพาลูกๆ ไปเที่ยวกัน มากับเราเถอะ’ แล้วเขาก็ตอบว่า ‘ไม่ล่ะ ฉันมีสิ่งสำคัญต้องทำมากกว่านั้น’ แล้วนั่นเอง เขาก็นั่งอยู่คนเดียวในบ้านเป็นเวลาประมาณห้านาที จู่ๆ ก็มีสาวน้อยคนหนึ่ง เธอยังสาว ไร้ที่พึ่งพา อยู่บนถนนหน้าบ้านของเขา แล้วเธอก็ ‘(เนื้อเพลงท่อนแรกของเพลง Say no to this)’ ฉันที่นั่งดูอยู่ก็แบบว่า ‘ฉิบหายล่ะ’ ”

©Disney+

“และทั้งหมดนั่นค่ะคุณผู้ชม หมายความว่าเขาปล่อยให้จู๋เข้าควบคุมเขาแล้ว นักการเมืองผู้ทรงอำนาจคนนี้ก็เริ่มเลียปากแพร่บๆ แล้วร้องต่อไปว่า ‘โอ้พระเจ้า บอกลูกทีว่าจะปฏิเสธสิ่งนี้ได้อย่างไร’ ‘ลูกไม่รู้ว่าจะปฏิเสธมันได้อย่างไร’

“และนั่นเอง ฉันถึงกับยืนขึ้น ชี้มือไปที่นักแสดงที่สวมบทของแฮมิลตันและบอกกับเขาว่า ‘ปฏิเสธอะไร? เธอไม่ได้ขออะไรจากคุณเสียหน่อย!’ ”

แคทเธอรีนพูดต่อ “นักแสดงเขาคนนั้นเขาเป็นมืออาชีพมากค่ะ เขาร้องเพลงต่อ ‘โอ้พระเจ้า บอกลูกทีว่าจะปฏิเสธสิ่งนี้ได้อย่างไร’ ‘ลูกไม่รู้ว่าจะปฏิเสธมันได้อย่างไร’ ฉันก็ถามต่อ ‘แต่คุณปฏิเสธการปกครองของจักรวรรดิอังกฤษได้นี่ ง่ายๆ ใช่ไหม แต่ทำไมพอเป็นเด็กสาวไร้เดียงสาที่ยังไม่ขออะไรคุณเลย คุณจะพูดอะไรกับเธอเหรอ?’ … แล้วเนื้อเพลงท่อนนั้นก็มา ‘โอ้พระเจ้า เธอดูช่างหมดหนทาง (Helpless) และร่างกายของเธอก็กำลังกรีดร้องว่าได้โปรดเข้ามา (Hell yes!) ’”

“ฉันแบบว่า ‘โอ๊ยคุณพี่คะ ร่างกายของเธอไม่ได้พูดแบบนั้นกับคุณแน่ๆ’ แต่ที่ร่างกายเธอพูดน่ะอาจจะเป็น ‘เฮ้ ท่านผู้แทนฯ ข้างบ้านคะ ดิฉันพบว่าตัวเองกำลังตกเป็นเหยื่อในสถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัว แต่นั่นล่ะเพราะฉันไม่ได้รับอนุญาตให้มีสิทธิเลือกตั้ง หรือทำงานหากินเอง เพราะฉันนั้นทำไมคุณถึงจะไม่เอาจู๋งี่เง่าของคุณออกจากไปไกลๆ และช่วยผู้หญิงคนนี้เสียล่ะ?”

Daveed Diggs, Okieriete Onaodowan, Anthony Ramos, and Lin-Manuel Miranda, in a scene from “Hamilton.”
©Disney+ / Courtesy Joan Marcus

บทเรียนของคนไม่มีจุดยืน

หนึ่งในตัวละครที่มีความสำคัญมากเป็นอันดับต้นๆ อย่าง Aaron Burr ที่รับบทโดย Leslie Odom Jr. ซึ่งตัวละครตัวนี้ถูกใช้เป็นตัวดำเนินเรื่องราวต่างๆ ในบางช่วงตอนของละครเพลง แอรอนเป็นเหมือนผู้ที่กำลังเล่าเรื่องให้กลับเหล่าผู้ชมได้ฟังจากมุมมองของเขา แอรอนมีประโยคประจำตัวคือ “พูดให้น้อย ยิ้มให้มาก อย่าให้พวกเขารู้ว่าสนับสนุนหรือต่อต้านฝ่ายใด” (Talk less, Smile more. Don’ t let them know what you’ re against or what you’ re for) ซึ่งเมื่อดูแล้วมองย้อนกลับมาที่สังคมไทย พฤติกรรมรู้เอาตัวรอดเป็นยอดดีของแอรอนนั้นไม่ได้มีความต่างจากวลีที่นิยมใช้ในปัจจุบันอย่าง “อยู่เป็น” เลยสักนิดเดียว

แอรอน เบอร์ ถือเป็นเพื่อนคนแรกของแฮมิลตัน แต่ทั้งสองกลับมีอุปนิสัยที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง แฮมิลตันมีความมั่นใจในตัวเองสูง มุทะลุ มีจุดยืนในตัวเองอย่างชัดเจน ส่วนเบอร์เป็นคนสุภาพ คิดรอบคอบ และระวังตัวอยู่เสมอ ชีวิตของเขาเดินไปในเส้นทางที่ปลอดภัย รอดูกระแสของอำนาจไหลไปมาและปล่อยตัวไหลไปตามมันเพราะเขาคิดว่าการใช้ชีวิตแบบนั้นจะเป็นหนทางที่ทำให้เขามีโอกาสก้าวขึ้นสู่อำนาจและสามารถคงอยู่ได้อย่างยั่งยืน

“If you stand for nothing Burr, what’ll you fall for?”

(ถ้าคุณไม่มีแม้แต่จุดยืน และอะไรเล่าที่จะทำให้คุณสู้เพื่อมันได้?)

– Alexander Hamilton –

แต่ความไม่มีจุดยืนของเขานั่นเองที่เป็นสิ่งที่ตัดโอกาสการก้าวขึ้นสู่การเป็นประธานาธิบดีคนที่สองของสหรัฐอเมริกาในการเลือกตั้งครั้งแรกของประเทศที่เพิ่งได้รับชีวิตใหม่มาไม่นาน ในศึกการเลือกตั้งระหว่าง Aaron Burr และ Thomas Jefferson (ปี 1800) ผู้เป็นเหมือนศัตรูทางการเมืองของแฮมิลตันในช่วงแรกของที่สหรัฐอเมริกาได้ถือกำเนิดขึ้น ทั้งสองมีความคิดเห็นทางการบริหารที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในบางครั้ง ระบบการเงินที่แฮมิลตันเสนอให้กับประเทศของเขาถูกโธมัส เจฟเฟอร์สัน ตั้งคำถาม ชายสองคนนี้ใช้คำพูดสู้กันไปมาอย่างไม่รู้จบ แต่เมื่อมาถึงการให้ความคิดเห็นกับประชาชนว่าแฮมิลตันเห็นสมควรให้ใครเป็นประธานาธิบดีคนที่สองมากกว่ากัน รัฐบุรุษผู้นี้กลับเสนอตัวเลือกที่ไม่มีใครคาดฝันมาก่อน

ระหว่างศัตรูกับเพื่อนเก่า แฮมิลตันให้เสียงของเขากับเจฟเฟอร์สันแทนที่จะเป็นเบอร์

เหตุผลที่เขาให้ก็คือ “Jefferson has beliefs, Burr has none” (เจฟเฟอร์สันมีความเชื่อ แต่เบอร์ไม่เชื่อในอะไรเลย)

ในด้านความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันของแฮมิลตันและเบอร์ทั้งสองมีความคิดอย่างหนึ่งที่ตรงกันนั่นก็คือความคิดที่อยากจะให้สหรัฐอเมริกามีชีวิตใหม่อย่างยิ่งใหญ่ เป็นประเทศที่มั่งคงและมีเสถียรภาพ

Hamilton | Official Trailer | Disney+

ศิลปะและการเมืองถือเป็นสิ่งที่อยู่คู่กันมาตลอดไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยใดและการตีความประวัติศาสตร์ในรูปแบบใหม่ๆ นำมาซึ่งการนับเสนอที่น่าสนใจยิ่งยิ่งขึ้นไปถือเป็นเรื่องที่หาดูได้ยากในสังคมไทย การได้เห็นตัวอย่างจาก Hamilton ก็ทำให้เราอดคิดไม่ได้เลยจริงๆ ว่าในอนาคตข้างหน้านี้มันจะเป็นไปได้หรือไม่ที่ประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของไทยจะถูกหยิบยกขึ้นมาเล่าใหม่ ตีความใหม่ในรูปแบบที่ทันสมัยอย่างละครเพลงเรื่องนี้บ้างหรือไม่ ศิลปะการที่จะเล่าเรื่องราวทุกอย่างออกมาโดยที่ไม่ต้องกังวลถึงความปลอดภัยหรือกระแสตีกลับจากผู้มีอำนาจอีกต่อไป

Previous

Harry Styles จับมือ Phoebe Waller-Bridge ขึ้นเวที ใน MV เพลง Treat People With Kindness

25 สิ่งน่ารู้เกี่ยวกับ Florence Pugh

Next